Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไซโคภาพยนตร์แนวระทึกขวัญ จิตวิทยา

ไซโค
สำหรับภาพยนตร์สี ดูที่ ไซโค (1998)Psycho
โปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับ อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก
ผลิต อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก
อัลมา เรวิลล์
เขียน นวนิยาย:
โรเบิร์ต บล็อก
บทภาพยนตร์
โจเซฟ สเตฟาโน่
แสดง/
พากย์ แอนโธนี่ เพอร์กิ้นส์
เจเน็ต ลีห์
วีร่า ไมล์ส
จอห์น เกวิน
มาร์ติน บัลซั่ม
จอห์น แมคอินไตร์
เพลง เบอร์นาร์ด เฮอร์มานน์
กำกับภาพ จอห์น แอล. รัสเซลล์
ตัดต่อ จอร์จ โทมาชินี่
เผยแพร่ พาราเมาท์ / ยูนิเวอร์แซล
ฉาย 16 มิถุนายน ค.ศ. 1960
ยาว 109 นาที
ประเทศ สหรัฐอเมริกา
ภาษา อังกฤษ
งบประมาณ 806,948 ดอลล่าร์สหรัฐ
ไซโค ( อังกฤษ : Psycho ) ภาพยนตร์แนวระทึกขวัญ จิตวิทยา เรื่องที่โด่งดังและเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดของ อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก เป็นภาพยนตร์ขาวดำ ความยาว 109 นาที ฉายในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) และใน ประเทศไทย ในปีเดียวกัน โดยไม่มีชื่อ ภาษาไทย

เนื้อเรื่องย่อ
วันศุกร์ ที่ 11 ธันวาคม แมเรี่ยน เครน (เจเน็ต ลีห์) เลขานุการ สาวขโมยเงินจำนวน 40,000 ดอลล่าร์ จากนายจ้างของเธอ โดยหนีไปจากเมือง ฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา หวังจะไปหาแซม คู่หมั้นหนุ่มของเธอ (จอห์น เกวิน) แต่เธอขับรถหลงทางและขณะที่ ฝน ตก เธอได้หลงเข้าไปใน โรงแรม แห่งหนึ่ง ที่ชื่อ เบตส์ โมเต๊ล (Bate's Motel) ที่มีบ้านทรง โกธิค อยู่ข้างหลัง เจ้าของโรงแรมเป็นชายหนุ่มท่าทางขี้อาย ชื่อ นอร์แมน เบตส์ (แอนโธนี่ เพอร์กิ้นส์) เธอได้พักที่โรงแรมแห่งนี้ เมื่อพูดคุยกันเธอได้รู้ว่านอร์แมนมีแม่ที่สติไม่ค่อยดี และสร้างความอึดอัดใจให้กับนอร์แมนเสมอ ๆ เธอเสนอให้นอร์แมนพาแม่ไปที่ โรงพยาบาล แต่นอร์แมนปฏิเสธ เมื่อเธอเข้าห้องพักและอาบน้ำ ความสยองขวัญก็บังเกิดขึ้น
หลังจากนั้น ไลล่า เครน(วีร่า ไมล์) น้องสาวของแมเรี่ยนก็ออกตามหาพี่สาวของเธอซึ่งหายไปอย่างสาบสูญ เธอตามไปพบแซม แต่แซมปฏิเสธไม่รู้เรื่อง ทั้งคู่ได้ออกตามหาความจริง และได้พบกับนักสืบคนหนึ่งชื่อ อาร์โบกาส (มาร์ติน บัลซั่ม) อาร์โบกาสเหมือนจะรู้เรื่องทั้งหมด จึงเป็นฝ่ายอาสาออกตามหาแมเรี่ยนเอง และเมื่ออาร์โบกาสได้เข้าไปในเบตส์ โมเต๊ล ก็หายสาบสูญไปอีกคน
ไลล่า และแซม ไปขอความช่วยเหลือจากนายอำเภอ (จอห์น แมคอินไตร์) แต่นายอำเภอก็ไม่อาจช่วยอะไรได้มากนัก จึงออกตามหาเองและได้เข้าไปในเบตส์ โมเต๊ล ทั้งคู่ได้สืบเสาะหาความจริงจากโรงแรมแห่งนั้น ความจริงที่น่าสยองขวัญทั้งหมดจึงถูกเปิดเผยขึ้นว่า แท้ที่จริงแล้ว แม่ของนอร์แมนได้ตายไปนานแล้ว และนอร์แมนก็สวมบทบาทของแม่สังหารคนทั้งสอง โดยที่ไม่รู้ตัวเพราะร่างของแม่ได้สิงร่างของนอร์แมนทั้งหมด

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทเพลงจากพระราชนิพนธ์"ชะตาชีวิต"และหนังเรื่อง"นกน้อย"

"ชะตาชีวิต"เป็นชื่อบทเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่๕ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ดั้งเดิมทรงพระราชนิพนธ์ที่สวิตเซอร์แลนด์ หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์และเสด็จกลับไปสวิตฯอีกครั้ง
เพื่อทรงศึกษาต่อ...ประมาณปีพ.ศ.2490 ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง20พรรษา เท่านั้น
โดยทรงโปรดเกล้าฯให้ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นภาษาอังกฤษ และพระราชทานชื่อเพลงนี้ว่า "H.M. Blue..ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ศาสตราจารย์ ด.ร.ประเสริฐ ณ นครประพันธ์คำร้องภาษาไทย แต่มิได้ทรงพระราชทานคำร้องภาษาอังกฤษดั้งเดิมมาให้ ด.ร.ประเสริฐจึงแต่งคำร้องที่จินตนาการขึ้นเอง อันมีความหมายคนละเรื่องกับเนื้อเพลงของพระองค์ท่าน...และได้
วินัย จุลลบุษปะ บันทึกเสียงเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2491
ดอกดิน กัญญามาลย์..นักสร้างหนังคนดังในยุคนั้น เจ้าของฉายา"ดอกดินตัวดำดำ"ได้อัญเชิญ บทเพลงชะตาชีวิต มาเป็นเพลงนำหนังเรื่อง"นกน้อย"..โดยได้ขอพระบรมราชานุญาติ และพระองค์ทรงโปรดพระราชทานอย่างเป็นทางการ...นับเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ที่มีการอัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์มาใส่ในหนัง...เป็นที่กล่าวขวัญชื่นชมสดุดีอย่างมากในสมัยนั้นทีเดียว

"นกน้อย"เป็นภาพยนตร์ปี 2507...ดอกดินเป็นผู้กำกับและผู้สร้าง ดัดแปลงมาจากเค้าโครง
นวนิยายของ"ป.พิมล"( ซึ่งประพันธ์ขึ้นจากเค้าโครงหนังที่เขาชื่นชอบเรื่อง Somebody up
there likes me ปี1956 นำแสดงโดย Paul Newman )...นำแสดงโดย
มิตร ชัยบัญชา และ เพชรา เชาวราษฏร์...ซึ่งบทบาทการแสดงอันยอดเยี่ยมของเธอในหนังเรื่องนี้ทำให้ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองพระราชทานครั้งที่7 ประจำปี2507 ในฐานะดารานำหญิงยอดเยี่ยมดอกดิน ที่แสดงด้วย ได้รับรางวัล ตัวประกอบชายยอดเยี่ยม...จุรี โอสิริ และ สมพงษ์ วงศ์รักษ์ไทยที่ให้เสียงแทนตัวเอกในเรื่องนี้ ก็ได้รับรางวัลนักพากย์ยอดเยี่ยมด้วยเช่นกัน

ก่อนจะฉายเป็นทางการ ดอกดิน ได้ทูลถวายฉายภาพยนตร์ ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นการเบิกฤกษ์อันเป็นมงคล...จากนั้น "นกน้อย" ก็เปิดฉายครั้งแรกเมื่อ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2507 ที่โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์
(อยู่แถวเจริญกรุง ปัจจุบันปิดแล้ว)
โดยดอกดินคิดค้นคำโฆษณาทางวิทยุที่ทำให้ติดหูผู้ฟังว่า "นกน้อยคอยท่า อยู่ที่คาเธ่ย์"...ทำให้มีผู้ไปชมหนังเรื่องนี้กันอย่างเนืองแน่น ได้เงินกว่า1ล้านบาท...และถือเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของเมืองไทย ที่มีหนังทำเงินได้สูงขนาดนี้...คำว่า"ล้านแล้วจ้า" ก็กลายเป็นสโลแกนประจำตัวของดอกดิน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ในปีพ.ศ.2524 ดอกดินนำหนังเรื่องนกน้อยมาสร้างอีกครั้ง นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี
และ สาริกา สนธิกาญจน์
(ดาราสาวลูกครึ่ง หน้าใหม่ ที่เล่นเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว ก็หายหน้าไปเลย )
หนังสร้างความประทับใจได้ไม่เท่าของเก่า แต่ก็ทำเงินดีพอสมควร

ปัจจุบันฟีล์มหนังเรื่องนี้สาบสูญสิ้นแล้ว...สันนิษฐานว่า เป็นเพราะหนังโด่งดังมากในยุคนั้น
จึงมีการฉายครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อทำเงิน ทำให้ฟีล์มเสียหายย่อยยับ และอีกประการคือ ผู้ที่ดอกดินให้สิทธิ์ในการฉาย หรือผู้ที่เช่าช่วงไปฉายต่อ ต่างอมฟีล์มหนังเรื่องนี้ไว้ไม่ยอมส่งคืน...แม้ต่อมาในภายหลังดอกดินจะประกาศขอซื้อคืนเพื่อเก็บรักษา ก็ไม่มีผู้ติดต่อมาแต่อย่างใด อมแล้วอมลับ ว่างั้น!

ข้อมูลส่วนหนึ่งของบทความนี้มาจากข้อเขียนของ อาจารย์ ส.พลายน้อย จากหนังสือ
ศิลปวัฒนธรรม..ปัจจุบัน อาจารย์ส.หรือ สมบัติ พลายน้อย เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
ศิลปินแห่งชาติ สาขา วรรณศิลป์...เมื่อวันที่ 5 เดือน กุมภาพันธุ์ ต้นปี 2554 ที่ผ่านมานี่เอง.

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีคิดแอ็คชั่นของตัวละครอีกวิธีหนึ่ง

วิธีคิดแอ็คชั่นของตัวละครอีกวิธีหนึ่งเพื่อให้เรื่องเดินไปข้างหน้าใน กรณีผู้เขียนเกิดภาวะตัน จะมีคำอยู่ 3 คำคือ Thesis (สิ่งที่มีอยู่แล้ว), Anti-thesis (สิ่งที่เอามาแย้ง), Synthesis (ผลจากการเอาทั้งสองอย่างมาปะทะกัน)

ตัวอย่าง

Thesis Anti-thesis Synthesis

ผู้หญิงเพิ่งเบิกเงินมา โจรวิ่งเข้ามากระชากเงิน เงินถูกฉกไป

เงินถูกฉกไป ผู้หญิงตะโกนขอความช่วยเหลือ ไม่มีใครช่วย

ไม่มีใครช่วย วิ่งตามไปเอง วิ่งไล่โจร

วิ่งไล่โจร เห็นรถไฟมา เอาไม้กระโดดข้ามรถไฟ

กระโดดข้ามรถไฟ ......................... .........................

เมื่อเขียน scenario แล้วว่าจะมีกี่ฉาก มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง มีการสร้างเหตุการณ์เพื่อที่จะบอกให้คนดูรู้ถึงความสัมพันธ์ของตัวละคร หรือลักษณะ character ของตัวละคร ซึ่งจะบอกผ่านคำพูดของตัวละครอย่างเดียวไม่ได้ ก็ต้องหาสร้างเหตุการณ์ขึ้นมาเพื่อให้คนดู และในการคิดตัวละครจะรู้แค่นิสัยผิวเผินไม่ได้ ต้องรู้ว่าเป็นคนแบบไหน นิสัยอย่างไร อาชีพการเงินฐานะพื้นเพ ฯลฯ คนเขียนบทต้องรู้หมด ต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนให้ได้ตลอด ว่าทำไมตัวละครถึงทำอย่างนั้นอย่างนี้ภายใต้สถานการณ์ที่เราเป็นผู้กำหนด ขึ้นเอง ต้องนึกไว้ด้วยว่าตัวละครพื้นเพแบบนี้ จะแสดงพฤติกรรมแบบนี้ได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ก็ทิ้งไป ถ้าฝืนต่อจะทำให้ตัวละครแกว่ง และต้องคำนึงถึงตรรกะหรือเหตุผลในพฤติกรรมด้วย เพราะโลกของตัวละครไม่ได้อยู่แค่ในหนัง แต่เกี่ยวพันกับโลกของความเป็นจริงเสมอ สร้างสถานการณ์ที่ทำให้คนดูรู้สึกอยากดูเรื่องราวของตัวละครต่อ

พอเขียนเสร็จแล้วก็ต้องมาสกรีนออกว่าฉากไหนควรอยู่ ฉากไหนควรตัดทิ้ง ซึ่งแน่นอนว่าทุกอย่างก็ต้องรักษา Theme ของเรื่อง เมื่อแก้ไขทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ก็มาเขียนเป็นบทภาพยนตร์ ว่าจะเอาภาพอะไรมาเล่าเรื่อง และใส่บทสนทนาลงไป สิ่งที่ยากที่สุดของการเขียนบท คือต้องสร้างเหตุการณ์ขึ้นมา ซึ่งการสร้างเหตุการณ์มันจะกินเวลาเยอะ บางทีเราก็ต้องสร้างสัญลักษณ์เล็กๆ ขึ้นมา เพื่อให้คนดูไปถอดรหัสถึงจะเข้าใจ การเขียนบทมันมีรูปแบบ มีทิศทางของมัน แต่การจะทำให้มีชั้นเชิงเป็นเรื่องของเฉพาะคน จะใช้อะไรมาเล่า จะทำยังไงถึงจะให้คนดูรู้สึกว่ามันแปลกใหม่ มีวิธีเสนอรูปแบบที่แตกต่างไปจากคนอื่น แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกันก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่คนเขียนบทต้องใช้ความสามารถ ประสบการณ์ มีวิสัยทัศน์ และมุมมองในการสร้างสรรค์บทภาพยนตร์

* นักศึกษาปริญญาโท สาขานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ รุ่นที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อ้างอิง

ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์. 2550. การเขียนบทภาพยนตร์. เอกสารประกอบการบรรยายใน

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านภาพยนตร์เรื่อง การเขียนบทภาพยนตร์ จัดโดย

ชมรม New Film Society ร่วมกับบริษัท ที่ฟ้า จำกัด, 7 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม2550.

สาระวิธีเขียนบทภาพยนตร์

ภาพยนตร์หรือที่เรียกว่าหนังของแต่ละคนจะออกมาในทิศทาง ไหน หนังศิลปะเป็นอย่างไร หนังสื่อเป็นอย่างไร และอย่างไรถึงเรียกว่าเป็นหนังอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งสามอย่างนี้ เชื่อว่ามันมีตลาดของมัน อาจจะขายยากขายน้อยก็ขึ้นอยู่กับโอกาส จังหวะ และช่องทาง

หนังศิลปะเป็นอย่างไร? ใครๆ ก็มองว่าหนังศิลปะนั้นค่อนข้างจะดูยาก มีวิธีการเล่าเรื่อง มีไวยากรณ์ที่แตกต่างไปจากหนังในกระแสหลัก (Mainstream) ที่เราคุ้นกันตั้งแต่เด็กๆ แล้วก็มีวิธีการเล่าหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับคนดูที่จะจับเอาไปตีความ หนังศิลปะมักมีความเป็นตัวตนสูง มีภาษาเป็นของตัวเอง อย่างสมัยก่อนก็จะมีการจัดฉายหนังประเภทนี้ตามสมาคมฝรั่งเศส หรือสถาบันเกอเธ่ ซึ่งหนังพวกนี้ก็จะมีตลาดของมัน มีทางของมัน มีคุณค่าตามแบบของมัน ยกตัวอย่างเช่น หนังเรื่อง “แสงศตวรรษ” ของคุณอภิชาติ วีระเศรษฐกุล หรือ “นางไม้” ของคุณเป็นเอก รัตนเรือง

หนังสื่อเป็นอย่างไร? คือหนังที่ตัวเจ้าของหนัง หมายถึงคนเขียนหรือผู้กำกับต้องการ "สื่อ" อะไรบางอย่างออกมา อาจจะใช้ความเป็นอาร์ตน้อยลงหน่อย ทั้งที่ตัวเขาเองก็รู้ว่าอาร์ตขั้นสูงๆ หรือขั้นที่ถือว่าเป็นมาตรฐานนั้นเป็นอย่างไร แต่ก็อาจจะต้องยอมลดราวาศอกเพื่อให้ได้ทำหนังออกมา เพื่อให้เข้าถึงคนดู เพื่อบอกข่าวสารอะไรบางอย่างแก่คนดู หรืออาจจะรณรงค์อะไรบางอย่างก็ได้ยกตัวอย่างเช่น หนังเรื่อง “14 ตุลา สงครามประชาชน” หรือ เรื่อง “final score ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์”

หนังอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร? ที่เห็นชัดๆ จะมีอยู่ 4 แนวคือ ตลก, ผี, กะเทย, บู๊ ซึ่งล่าสุดนี้ก็เอากระเทยกับบู๊มารวมกันเป็นเรื่อง สาระแนสิบล้อ แล้วก็มีตลกอยู่ด้วย ซึ่งก็เริ่มมีการผสมผสานเข้าด้วยกัน หนังอุตสาหกรรมจะเน้นการขายอย่างเดียว นับตั้งแต่เริ่มต้นการมีไอเดีย มีคอนเซ็ปต์ ที่ดูว่ามีอะไรน่าจะขายได้บ้าง ซึ่งนายทุนก็จะชอบหนังแบบนี้ ถามว่าหนังแบบนี้มีศิลปะหรือเปล่า มันก็มีเหมือนกัน เพราะคนทำหนังทุกคนก็อยากให้หนังของตัวเองมีศิลปะ เพราะบางครั้งการที่จะสื่อสารอะไรบางอย่างถึงคนดูได้ก็ต้องใช้ศิลปะ ใช้การหลอกล่อคนดูพอสมควร

หนังของเราจะมาได้อย่างไร? ในกระบวนการหรือขั้นตอนก่อนการเขียนบทภาพยนตร์เรื่องราวต่างๆ ที่เราจะนำเสนอให้ออกมาเป็นตัวหนังสือหรือบทภาพยนตร์นั้นอาจจะเกิดมาจากการ คิดขึ้นมาเอง การดัดแปลงมาจากนวนิยายหรือเรื่องสั้น จากข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน ประสบการณ์ส่วนตัว เพื่อนฝูง สิ่งที่มากระทบใจ กระแสสังคม ความฝัน หรือดูหนังแล้วเกิดไอเดียบางอย่าง เอามาเล่าต่อโดยคิดให้เป็นเรื่อง ดูจากตัวเองก่อนว่าสนใจอะไร แล้วเอาเรื่องรอบๆ ตัวมารวมกัน จากสถานที่ประทับใจ เช่น ถนนราชดำเนินว่ามีเหตุการณ์อะไรเคยเกิดขึ้นบ้าง ไอเดียบางอย่างที่ได้มาจากการดูหนัง เช่นดูแล้วคิดว่าทำไมเขาไม่ทำ Theme นี้ เห็นตัวละคร เห็นสถานที่ ก็เอามาสร้างใหม่ หรือคิดต่อจากความคิดของคนอื่น จากที่มาของความคิดหรือที่เรียกว่าไอเดียสามารถต่อยอดต่อขาหลายๆ ไอเดียมารวมกันเข้า จนกลายเป็นรูปร่างเป็นคอนเซ็ปต์เดียวกันแล้วจึงนำมาขยายเป็นเรื่องราว

แล้วเราจะเล่าเรื่องราวได้อย่างไร? การเล่าเรื่องราวแบบ 3 องก์ ต้น-กลาง-จบ เป็นสูตรการเล่าเรื่องแบบคลาสสิก ซึ่งคนส่วนใหญ่ชินกับวิธีการเล่าแบบนี้ ไม่ว่าตำนานหรือจะเป็นพุทธประวัติ ประวัติพระเยซู ก็จะถูกนำมาเล่าด้วยโครงสร้างแบบนี้เช่นเดียวกับพวกหนังที่ถือว่าดูง่ายทั้ง หลาย ก็เล่าเรื่องด้วยสูตรนี้เช่นกัน

ในการเล่าเรื่องราวนั้นจำเป็นต้องมี Plot-Theme-Character ซึ่งถ้าทั้งสามองค์ประกอบนี้สามารถผูกกันได้แล้ว "โดน" ก็จะเห็นความเป็นเรื่องราวและสิ่งที่หนังต้องการจะสื่อได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าผูกกันไม่ได้ก็จะมีอาการ "ตกม้าตาย" เกิดขึ้น หรือที่เรียกว่าเจอทางตัน คิดต่อไม่ได้

PLOT คืออะไร? Plot คือโครงเรื่อง ถ้าเป็นแบบคลาสสิกจะอธิบายว่า Plot คือเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เรียงร้อยเข้าด้วยกันอย่างเป็นเหตุเป็นผลต่อ กัน ตามโครงสร้างของอริสโตเติลจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงต้น (Beginning) แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้กำลังมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ช่วงกลาง (Middle) แสดงให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหา ช่วงท้าย หรือตอนจบ (End) แสดงให้เห็นว่าปัญหาถูกแก้ไขได้อย่างไร

THEME คืออะไร? Theme คือแก่นเรื่อง พูดถึงความคิดของเรื่องว่าต้องการจะบอกอะไร หรือสอนให้รู้ว่าอะไร เราสามารถจะไปหา Theme เก๋ๆ ได้จากพจนานุกรม, หรือพวกคำคมทั้งหลาย ซึ่งบางทีก็จะได้ไอเดียแปลกๆ เยอะ

CHARACTER คืออะไร? Character ก็คือตัวละคร ถ้าคิดให้ "โครงเรื่อง" นำเรื่องราว ก็จะเรียกว่า Plot Driven ซึ่งสิ่งที่จะโดดเด่นมากก็คือ เหตุการณ์ต่างๆ ที่ผูกไว้ในเรื่อง ตัวละครอาจจะยังไม่ชัด ถ้าคิดให้ "Theme" นำเรื่องราว ก็จะเรียกว่า Theme Driven สิ่งที่มาโดดเด่นมาก่อนเลยคือ ประเด็นต่างๆ อย่างเช่นเราตั้งประเด็นที่จะพูดถึงเรื่อง "ความกตัญญู" พูดถึง "ความกตัญญูรู้คุณเป็นบ่อเกิดของความเจริญ" ก็คือให้ประเด็นนำ แล้วคิดอย่างอื่นขึ้นมาสนับสนุน ถ้าคิดให้ ตัวละครนำเรื่องราว ก็จะเรียกว่า Character Driven ในบางกรณีโครงเรื่องหรือประเด็นอาจจะยังไม่ชัด แต่ถ้าเราเห็นว่ามีตัวละครตัวหนึ่งน่าสนใจ ก็จัดการจับตัวละครตัวนี้ลงไปในสถานการณ์ใดๆ ก็ได้ แล้วปล่อยให้ตัวละครมีชีวิตขึ้นมาตามที่ใจเราอยากจะให้เป็นไป หรือรู้สึกว่ามันควรจะแสดงออกมา

สรุปคือ จะคิดอะไรก่อนก็ได้ ถ้าคิดถึงคนก่อน ให้คนๆ นี้เริ่มต้นผจญภัยเรื่อยไป แต่ว่ามันต้องชัดเจน ไม่ใช่ว่าพอเดินๆ เรื่องไปแล้วนิสัยหรือบุคลิกมีอาการแกว่งไปแกว่งมา เพราะมันจะทำให้เราคุมตัวละครไม่ได้

ตัวอย่างที่คลาสสิกที่สุดอันหนึ่งคือเรื่อง กระต่ายกับเต่า Theme ของเรื่องนี้คือ ความประมาท หรือ โง่แล้วอวดฉลาด หรือความพยายาม Character คือ กระต่าย กับ เต่า Plot คือ การวิ่งแข่งกัน แล้วทั้งสามอย่างจะมาผูกกันได้อย่างไร สมมติว่าเราเป็นพวก Character Driven เราฝังใจว่าตัวละคร เต่า เป็นตัวที่น่าจะโฟกัสกับมัน เพราะมันมีอะไรให้เล่นเยอะ เพราะฉะนั้นก็มาคิดต่อว่าแล้ว Theme ไหนที่เหมาะกับตัวละคร เต่า มากที่สุด ก็น่าจะได้ว่าเป็น "ความพยายาม" เพราะเต่าเป็นตัวละครโฟกัส คนดูเรื่องนี้เพราะตามติดตัวละคร เต่า แล้วสิ่งที่เต่าพยายามทำในแต่ละฉากมันเป็นที่มาของคำว่า "ความพยายาม" แต่เมื่อใดก็ตามที่เลือกเล่น Theme "ความประมาท" ก็ต้องเลือกตัวละครโฟกัสไปที่ กระต่าย เพราะกระต่ายจะเป็นตัวละครที่พิสูจน์ Theme นี้ ซึ่ง Plot ที่จะเกิดขึ้นมา โดยอัตราส่วนแล้วเราจะเห็นมุมของ กระต่ายมากกว่าเต่า โดยเราอาจจะเลือกพูดถึงประเด็นว่า "ความประมาทเป็นหนทางแห่งหายนะ" ตัวละครทั้งกระต่ายกับเต่าก็จะต้องร่วมฉากเดียวกันไปตลอดทั้งเรื่อง อาจกลายเป็นเหมือนหนังบัดดี้ (buddy) เลยก็ได้ เพราะกระต่ายเป็นตัวที่พูดถึง "ความประมาท" ส่วนเต่าจะเป็นตัวที่พูดถึง "ความพยายาม" ถ้าเราเลือกเล่น Theme "โง่แล้วอวดฉลาด" เราอาจจะให้กระต่ายโง่ หรือเต่าโง่ก็ได้ หรืออาจจะให้ตัวใดตัวหนึ่งตายในตอนจบก็ได้ เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะเราไม่จำเป็นต้องทำตามประเพณีโบราณว่าเต่าต้องชนะเสมอไป เพราะดูจากสังขารแล้วก็เห็นชัดๆ ว่ากระต่ายกับเต่า ตัวไหนมันน่าจะชนะกว่า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะเลือกเข้าข้างตัวใด Theme ที่ได้อาจจะเป็น Theme ใหม่ กำหนดลักษณะตัวละครขึ้นมาใหม่ได้เสมอ แล้วแต่เราจะคิดสร้างสรรค์ออกมา ถ้าเราทำทุกอย่างให้มันเข้าที่เข้าทางแล้ว สิ่งที่ตัวละครทำมาตลอดทาง และเรื่องหรือ Theme ที่จะเกิดขึ้น เราเรียกมันว่า Plot อย่างเรื่อง กระต่ายกับเต่า โดยรวมๆ แล้วจะพูดถึงการวิ่งแข่งของตัวละครสองตัว มี Theme ของเรื่องคือ "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น" แล้วเราต้องการเล่าเรื่องเพื่อพิสูจน์ Theme นี้ โดยเลือกตัวละครหลักคือ เต่า

ตอนต้นเรื่องจะเริ่มต้นด้วย เต่าตัวหนึ่งท่าทางช้าๆ เชื่องๆ อยู่มาวันหนึ่งเจอกระต่าย แล้วโดนพูดจาปรามาสต่างๆ นานา องก์หนึ่งจบลงตรงที่ ทั้งสองตกลงใจที่จะวิ่งแข่งกัน พอถึงองก์สองก็จะว่าด้วยเรื่องของการวิ่งแข่งกัน เต่าจะพบกับอุปสรรคนานา พร้อมด้วยพันธมิตรและศัตรูทั้งหลาย องก์นี้จะจบลงด้วยการที่เต่าจะถูกผลักดันให้เจอกับทางตัน แทบจะแพ้ไปเลย แล้วพอเริ่มองก์สาม เต่าก็จะลุกขึ้นฮึดสู้ จนนำไปสู่ชัยชนะในตอนท้าย ซึ่งทั้งหมดต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลของ Theme เช่นถ้าคิดว่าเรื่องของเรามี Theme ที่เกี่ยวข้องกับ "ความพยายาม" จะต้องมีความเป็นตรรกะอยู่ในประโยค ก็จะกลายเป็น "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น" หรือหากพูดถึง Theme "ความประมาท" ก็จะเป็น "ความประมาทเป็นหนทางสู่ความตาย/หายนะ" ความเป็นเหตุเป็นผลหรือหลักฐานจะทำให้เราเห็นแอ็คชั่น เห็นการกระทำของตัวละคร

เริ่มต้นการเขียนบทอย่างไร? ในการเขียนบทหนัง ไม่ต้องบรรยายละเอียดจนเหมือนนิยาย เพราะบางอย่างก็กั๊กๆ ไว้ได้ คนอื่นหรือผู้กำกับมาอ่าน เขาจะเหมือนคนดู คือเม้มเอาไว้ได้ อย่างเช่นประโยค “คิดไปถึงอดีตอันขมขื่น” ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนก็ได้ เพราะมันจะเหมือนนิยาย บทหนังก็แค่บันทึกอันหนึ่ง หรือเหมือนใบสั่งที่ทีมงานทุกคนอ่านแล้วเอาไปทำต่อ ผู้กำกับอ่านแล้วก็เข้าใจได้เองว่าตัวละครคิดอะไรอยู่ ไม่ต้องบอกหมด บทหนังจะใช้บทสนทนาน้อย หรือถ้าไม่ใช้เลยก็จะดี แล้วลักษณะของบทหนังจะเป็นบทพูดสั้นๆ เหมือนโทรเลข บทหนังจะมีอยู่ 2 อย่างคือ บทแสดง (Screenplay) ไม่ต้องเขียนมุมกล้อง แต่มันจะต้องเห็นภาพคือคนเขียนจะต้องช่วยนิดหนึ่งว่าจะเปิดภาพด้วยอะไรก่อน เขียนบรรยายเพื่อให้แตกเป็นภาพได้ง่าย และบทก่อนถ่าย (Shooting Script) คือบทที่มีการบอกมุมกล้อง ทำงานกับผู้กำกับบนโต๊ะอย่างละเอียด

การคิด Theme ต้องคิด Theme ให้ชัดเจนก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เรากำหนดขึ้นมามันรับใช้กับ Theme ที่เราคิดหรือไม่ เพราะ Theme จะทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังของเรื่อง เมื่อคิดได้ มันจะทำให้เราเห็น ‘เส้นเรื่อง’ ทันที เช่นประโยคที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” หรือ “การนึกถึงแต่ตัวเอง โดยมองข้ามความเป็นมนุษย์ของคนอื่น นำพาชีวิตไปสู่ความโดดเดี่ยว” เมื่อเห็นเส้นเรื่องแล้ว ก็ต้องสร้าง Plot และตัวละครเพื่อมาสอดคล้องหรือเกาะกับ Theme ที่คิดให้ได้ แต่ต้องถามตัวเองต่อด้วยว่า “ได้อย่างไร” ต้องเขียนให้เป็นนามธรรมมากที่สุด คือมองให้เป็นฉากแอ็คชั่น เห็นพฤติกรรม การกระทำ อย่าให้เป็นแค่รูปธรรม

การเขียนโครงเรื่อง (Plot) เล่าแค่ว่าตัวละครเป็นใคร ได้เจอกับเหตุการณ์อะไร แล้วไปพบกับอะไร จนเกิดการประจักษ์ในท้ายที่สุด เล่าแค่สั้นๆ ยังไม่ต้องไปให้รายละเอียดมากนัก เช่น เรื่องราวของหญิงสาวสวยผู้ไม่เคยเห็นใครในสายตา เธอทำกระเป๋าเงินหาย เป็นเหตุให้เธอต้องขึ้นรถเมล์เป็นครั้งแรกในชีวิต ระหว่างทางเธอประสบกับวิถีชีวิตผู้คนรอบข้าง ซึ่งเธอไม่เคยพบเห็นมาก่อน แต่ถึงกระนั้นเธอก็ยังคงมองข้ามคนอื่นอยู่เสมอ จนกระทั่ง ....... (หาเหตุการณ์ที่ทำให้ตัวละครได้เรียนรู้หรือประจักษ์กับอะไรบางอย่างใน ชีวิต) เธอถึงได้รู้ว่า ....... (จะเป็นประโยคของ Theme “การนึกถึงแต่ตัวเอง โดยมองข้ามความเป็นมนุษย์ของคนอื่น นำพาชีวิตไปสู่ความโดดเดี่ยว” ก็ได้)

การเขียนเรื่องย่อ (Synopsis) คือการขยายโครงเรื่องให้เป็นเรื่องราว อยู่ในรูปความเรียง ความยาวก็มีตั้งแต่ 2-5 หน้า ตัวอย่างเรื่องย่อก็เช่นพวกเรื่องย่อละครทีวี

การเขียนเรื่องย่อหรือ (Treatment) โครงเรื่องขยาย คือ การแสดงรายละเอียดของเรื่องราวที่มันดำเนินไปข้างหน้า เล่าตามสิ่งที่จะปรากฏในหนัง เน้นที่สถานการณ์จากสถานการณ์หนึ่งไปอีกสถานการณ์หนึ่ง พยายามหาวิธีว่าจะเล่าออกมาเป็นหนังได้อย่างไร จะต้องเล่าด้วยการแสดง (show) ออกมาให้เห็น แต่เมื่อถึงตอนที่เราเอามาแตกเป็นฉากๆ หรือที่เรียกว่า Scenario คือการลำดับฉาก เหตุการณ์และบรรยายว่าฉากนั้นเกิดอะไรขึ้น อาจจะมี keyword หรือบทสนทนาลงไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น “ผู้ร้ายปล้นธนาคารแล้วฉกกระเป๋าเงินนางเอกที่อยู่ในธนาคารนั้นไปได้” ถือว่าเป็นสถานการณ์ ส่วนเหตุการณ์ก็จะมีตั้งแต่ช่วงก่อนปล้น ไปจนถึงขณะทำการปล้น และหลังปล้น ซึ่งในหนึ่งสถานการณ์จะประกอบไปด้วยหลายเหตุการณ์เสมอ ต้องเล่าเหตุการณ์ต่างๆออกมาให้ง่ายๆ แต่กินใจ ต้องหาสถานการณ์ที่เอื้อต่อพฤติกรรมของตัวละครการเขียนสถานการณ์ให้เขียน แบ่งเป็นข้อๆ แต่ละข้อคือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวละคร เช่น “คำหล้าเจอกับเหตุการณ์อะไร แล้วนำไปสู่ผลอะไร” ไปจนกระทั่งจบเรื่อง จนเห็นเป็นสถานการณ์ที่แน่ชัด แล้วจึงค่อยลงมือเขียน

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน

ภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน

เมื่อเริ่มต้นทศวรรษใหม่ในปีพ.ศ. 2540 ก็มีปรากฏการณ์ที่สร้างความตื่นตัวให้แก่วงการหนังไทยอีกครั้ง นั่นคือความสำเร็จชนิดทำลายสถิติหนังไทยทุกเรื่อง ด้วยรายได้มากกว่า 70 ล้านบาทจากหนังของไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2548 ทางด้านการทำรายได้มีการสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล 20 อันดับแรกล้วนอยู่ในช่วง ปี 2540 – 2548 มีภาพยนตร์ไทย 9 เรื่องสามารถทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544) รายได้ภายในประเทศกว่า 700 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด นางนาก ที่ออกฉายต้นปี 2542 กวาดรายได้ไปถึง 150 ล้านบาท บางระจัน ของ ธนิตย์ จิตต์นุกูล กวาดรายได้ 150.4 ล้าน มือปืน/โลก/พระ/จัน ของผู้กำกับฯ ยุทธเลิศ สิปปภาค 120 ล้าน และ สตรีเหล็ก ของ ยงยุทธ ทองกองทุน 99 ล้าน ในปี 2544 ถือเป็นปีทองที่น่าจดจำของวงการภาพยนตร์ไทย

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยกำลังเข้าไปสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นเป็นเพราะกระแสโลกที่เป็นตัวกำหนดรสนิยมของการดูภาพยนตร์ของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับการเข้ามาของกลุ่มผู้กำกับฯ คลื่นลูกใหม่ ที่มีศิลปะในการจัดการทางด้านธุรกิจ การใช้สื่อโฆษณาทุกรูปแบบกระตุ้นผู้บริโภค

แนวภาพยนตร์ มีทั้งแนวอิงประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์สยองขวัญ ภาพยนตร์ที่สร้างให้เกิดกระแสสังคม ภาพยนตร์ที่สะท้อนอุดมคติของความเป็นไทย ภายหลังการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ผู้คนเริ่มหันกลับมาค้นหาคุณค่าของความเป็นไทยด้วยความรู้สึกชาตินิยมจึงถูกปลุกขึ้นมาในช่วงนี้
นอกจากนี้ ภาพยนตร์ไทยยังได้การยอมรับในต่างประเทศ ภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง หรือ The Protector ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้ตีตลาดต่างประเทศ อย่างภาพยนตร์เรื่อง Goal Club เกมล้มโต๊ะ, สุริโยไท, จัน ดารา, บางระจัน, ขวัญเรียม, นางนาก, สตรีเหล็ก, ฟ้าทะลายโจร, บางกอกแดนเจอรัส และ 14 ตุลา สงครามประชาชน และมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์อย่าง บางกอกแดนเจอรัส (2543) ไปเปิดตัวที่งานเทศกาลหนังที่โทรอนโต หรือ เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล ของเป็นเอก รัตนเรือง และในปี 2550 ภาพยนตร์ในรูปแบบชายรักชายเรื่อง เพื่อน...กูรักมึงว่ะ โดยผู้กำกับ พจน์ อานนท์ คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ประเทศเบลเยียมมาได้
 
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพยนตร์ไทยในทศวรรษ (2530 - 2539)

ภาพยนตร์ไทยในทศวรรษ (2530 - 2539)
ภาพยนตร์เรื่องบ้านผีปอบ

ในช่วงต้นทศวรรษ วัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของคนทำหนังไทยตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2531-2532 หลังความสำเร็จของ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย, ปลื้ม ,ฉลุย และบุญชูผู้น่ารัก (พ.ศ. 2531) เรื่องหลังเป็นงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงของบัณฑิต ฤทธิ์ถกล ผู้กำกับรุ่นเดียวกับยุทธนา มุกดาสนิท ซึ่งหลังจากหนังเรื่องนี้ บัณฑิตก็กลายเป็นคนทำหนังร่วมสมัยที่มีหนังทำเงินและหนังคุณภาพมากที่สุด ระหว่างปี 2531-2538 บัณฑิตทำหนังชุดบุญชูถึง 6 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2534 ไทเอนเตอร์เทนเมนท์ ประสบความสำเร็จกับภาพยนตร์เรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้

นอกจากหนังประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ (เป็นแนวพิเศษที่แยกออกมาจากหนังชีวิต นิยมสร้างกันในช่วงปี พ.ศ. 2532-2535 โดยมีตลาดวิดีโอเป็นเป้าหมายหลัก) ส่วนใหญ่เป็นหนังเกรดบี หรือ หนังลงทุนต่ำของผู้สร้างรายเล็ก ๆ หนังที่โดดเด่นในบรรดาหนังเกรดบี คือ หนังผีในชุดบ้านผีปอบ ซึ่งสร้างติดต่อกันมากว่า 10 ภาคในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2537 เหตุเพราะเป็นหนังลงทุนต่ำที่ทำกำไรดี โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด

ในช่วงปลายทศวรรษ คนทำหนังไทยได้ปรับปรุงคุณภาพของงานสร้าง จนกระทั่งหนังไทยชั้นดีมีรูปลักษณ์ไม่ห่างจากหนังระดับมาตรฐานของฮ่องกง หรือ ฮอลลีวูดแต่จำนวนการสร้างหนังก็ลดลง จากที่เคยออกฉายมากกว่า 100 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2533 ลดลงเหลือเพียงราว 30 เรื่องในปี พ.ศ. 2539 ทางด้านรายได้ จากเพดานรายได้ จากระดับ
20-30 ล้านบาท (ต่อเรื่อง) ในระหว่างปี 2531-2534 สู่ระดับ 50- 70 ล้านบาท ในระหว่างปี 2537-2540 แต่ยังห่างจากความสำเร็จของหนังฮอลลีวูดที่พุ่งผ่าน 100 ล้านบาทเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539

การเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์ไทยนั้น มีผลจากการเติบโตของตลาดวิดีโอ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของหนังฮอลลีวูดและการปรับเปลี่ยนรูปแบบโรงหนังในกรุงเทพฯ สู่ระบบมัลติเพล็กซ์ ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 โรงหนังขนาดย่อยในห้างที่มีระบบเสียงและระบบการฉายทันสมัยเหล่านี้ นอกจากจะถูกสร้างให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ของคนเมืองแล้ว ยังมุ่งรองรับหนังฮอลลีวูดเป็นหลัก ทำให้หนังไทยถูกลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรียบเรียงโดย manman

ภาพยนตร์ไทยกับการสะท้อนภาพสังคม (2516 - 2529)

ภาพยนตร์ไทยกับการสะท้อนภาพสังคม (2516 - 2529)

ในภาวะที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขันไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 เป็นต้นมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2529 มีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 โดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2521-2525 นั้น เป็นช่วงที่หนังสะท้อนสังคมโดดเด่นที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคทองของหนังสะท้อนสังคมภาพยนตร์เรื่องเขาชื่อกานต์ นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์ และภิญโญ ทองเจือ

เมื่อ มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2513 และส่งผลให้หนัง 16 มม. ถึงจุดจบตามไปด้วย เป็นช่วงเวลาที่กิจการสร้างหนังไทยกำลังเปลี่ยนทั้งระบบ จากการสร้างภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร พากย์สด ไปเป็นการสร้างภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม อันเป็นผลจากการตั้งเงื่อนไขในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยของรัฐบาล ในช่วงนั้นได้มีผู้กำกับหัวก้าวหน้าอย่างเปี๊ยก โปสเตอร์ ที่สร้าง โทน ด้วยระบบ 35 มม. แม้ว่าเนื้อหาจะเน้นความบันเทิงเป็นหลัก ทว่าแฝงแรงบันดาลใจให้คนหลายคน โดยเฉพาะ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย และสักกะ จารุจินดา ทำหนังเชิงวิพากษ์สังคมก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16

ภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ มีปัญหากับเซ็นเซอร์ตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะเป็นหนังเรื่องแรกที่สร้างขึ้นมาพูดถึงระบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยตรง[15] ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีใครกล้าแตะต้อง ในระยะไล่เลี่ยกัน สักกะ จารุจินดา ได้นำ ตลาดพรหมจารี ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากทั้งนักวิจารณ์และคนดู
ในภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงแรม ได้มีภาพส่วนหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์จริงในการเดินขบวน เมื่อเข้าฉายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 เทพธิดาโรงแรม ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หลังจากนั้น ท่านมุ้ยได้สร้างหนังออกมาอีกหลายเรื่อง ทั้งที่เป็นหนังรักและหนังวิพากษ์สังคม อย่างเช่น เทวดาเดินดิน เป็นหนังอีกเรื่องที่เรียกได้ว่าสร้างขึ้นมาด้วยเจตจำนงที่จะวิพากษ์วิจารณ์สังคมเมื่อประชาธิปไตยเบ่งบานจนเฟ้อ หลังจากโศกนาฏกรรมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผ่านไป บ้านเมืองกลับเข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง เมื่อ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี บ้านเมืองไม่ผิดแผกจากยุคเผด็จการทหาร คนทำหนังส่วนใหญ่จึงต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม ผู้สร้างหนังจำต้องยุติบทบาททางการเมืองของตนเองลงโดยปริยาย หนังที่ผลิตออกมาในช่วงนี้กลับสู่ความบันเทิงเต็มรูปแบบอีกครั้ง ส่วนใหญ่เป็นหนังตลกที่ครองตลาด ไม่ว่าจะเป็น รักอุตลุด หรือ เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง ของสมพงษ์ ตรีบุปผา
ในสมัยรัฐบาลธานินทร์ มีมาตรการขึ้นภาษีการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ จากเมตรละ 2.20 บาท เป็นเมตรละ 30 บาท ส่งผลทำให้ผู้สั่งหนังเทศต้องชะลอการสั่งหนังลงชั่วคราว ในทางตรงกันข้ามกลุ่มผู้สร้างหนังไทยได้รับความคึกคักขึ้น ในช่วงเวลานี้เองมีการผลิตหนังไทยเพิ่มถึงปีละ 160 เรื่อง

ปี พ.ศ. 2521-2523 หนังสะท้อนสังคมโดยกลุ่มผู้สร้างที่เป็นคลื่นลูกใหม่ได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์อย่างมากมาย อาทิ ครูบ้านนอก เทพธิดาบาร์ 21 น้ำค้างหยดเดียว เมืองขอทาน ฯลฯ ในจำนวนนี้ ครูบ้านนอก ถือว่าประสบความสำเร็จสูงสุด แม้กลุ่มนักแสดงจะเป็นคนหน้าใหม่แทบทั้งสิ้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพยนตร์ไทยในยุค 16 มม. (2490 - 2515)

ภาพยนตร์ไทยในยุค 16 มม. (2490 - 2515)
ภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง 
นำแสดงโดย พระนางคู่ขวัญ 'มิตร-เพชรา'

ผู้สร้างหนังไทยหันมานิยมสร้างด้วยฟิล์ม 16 มิลลิเมตร แทน 35 มิลลิเมตร ที่เคยสร้าง ภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ละออ ทิพยวงศ์ สอางค์ ทิพยทัศน์ ประชุม จุลละภมร และเกื้อกูล อารีมิตร ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และคำชมเชย
การสร้างภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แม้ว่าภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. จะไม่จัดว่าได้มาตรฐาน แต่การถ่ายทำสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถล้างฟิล์มแล้วนำออกฉายได้เลยแล้ว อีกทั้งต้นทุนต่ำกว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ในระบบ 35 มม. และสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงดงาม จึงเป็นแรงจูงใจให้มีนักสร้างภาพยนตร์มือสมัครเล่น กระโดดเข้ามาเป็นผู้อำนวยการสร้างกันมาก โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2500-2515  ช่วงเวลา 15 ปีเต็มอันเป็นช่วงรุ่งเรือง ของภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. นี้ แต่ก็เป็นในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และในบางครั้งภาพยนตร์เหล่านี้มีลักษณะหลายประการที่คล้ายคลึงกันจนดูเป็นสูตรสำเร็จ ที่เน้นความเพลิดเพลินเพื่อนำคนดูออกจากโลกแห่งความจริงเป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะต้องมีครบรสทั้งตลก ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา บู๊ล้างผลาญรวมไปถึงโป๊บ้างในบางฉาก เรื่องราวมักเป็นแบบสุขนาฏกรรมและจบลงด้วยธรรมะชนะอธรรมเสมอ

ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์ยุคนี้ คือ ดาราในยุคนั้น มิตร ชัยบัญชาได้เล่นหนังเป็นพระเอกมาแล้วถึง 300 เรื่อง ส่วนฝ่ายหญิงก็จะมีดาราหญิงอยู่กลุ่มหนึ่งผลัดเปลี่ยนกันขึ้นอันดับดารายอดนิยม นับตั้งแต่วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อมรา อัศวนนท์ และ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ทั้งนี้ ก่อนปี พ.ศ. 2502 คู่พระ-คู่นางที่ผูกขาดวงการภาพยนตร์ไทยก็ยังไม่ปรากฏ มีเพียงกลุ่มนักแสดงชั้นนำที่คนดูให้การยอมรับหรือชื่นชมเท่านั้น จนมาในปี พ.ศ. 2505-2513 พระเอก-นางเอก ของวงการภาพยนตร์ไทยจึงได้ถูกผูกขาดโดย "มิตร-เพชรา"
ระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ยุคนั้น ตัวแสดงพูดไปตามบทโดยไม่มีการบันทึกเสียง นักพากย์จึงกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ภาพยนตร์เหล่านั้นสามารถสื่อสารกับคนดูได้ ก็เป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงให้ผู้ชมมาชมภาพยนตร์ ในช่วงเวลานั้นนักพากย์ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ได้แก่ รุจิรา-มารศรี พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรื่อง) เสน่ห์ โกมารชุน จุรี โอศิริ สีเทา สมพงษ์ วงศ์รักไทย ฯลฯ

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุคบุคเบิก (2470 - 2489)ของไทย

ความรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุคบุคเบิก(2470 - 2489)
บริษัทกรุงเทพภาพยนตร์สร้างหนังเรื่องแรกเสร็จ ให้ชื่อเรื่องว่า โชคสองชั้น เนื้อเรื่องแต่งโดย หลวงบุณยมานพพานิช (อรุณ บุณยมานพ) กำกับการแสดงโดย หลวงอนุรักษ์รถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) ถ่ายภาพโดยหลวงกลการเจนจิต ผู้แสดงเป็นพระเอกคือ มานพ ประภารักษ์ ซึ่งคัดมาจากผู้สมัครทางหน้าหนังสือพิมพ์ ม.ล. สุดจิตร์ อิศรางกูร นางเอกละครร้องและละครรำมีชื่ออยู่ในขณะนั้น หลวงภรตกรรมโกศล ตัวโกงจากเรื่อง นางสาวสุวรรณ แสดงเป็นผู้ร้าย  ภาพยนตร์ออกฉายเป็นครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ที่มีมหาชนไปดูกันมากที่สุด ได้การยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย อีกเดือนเศษต่อมา บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย จึงสร้างหนังของตนเรื่อง ไม่คิดเลย สำเร็จออกฉายในเดือนกันยายนปีนั้น

ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องต่างเป็นภาพยนตร์เงียบที่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้น ทั้งสองบริษัทได้พยายามสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อ ๆ มา และมีผู้สร้างภาพยนตร์รายใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ปี พ.ศ. 2470 เป็นปีที่เริ่มยุคหนังเสียง ที่เรียกว่า ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (sound on film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (talkie) ของฮอลลีวู้ด ปี พ.ศ. 2471 ก็เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์และภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเข้ามาฉายในกรุงเทพ[4]
จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ ดาราคู่แรกของไทย

ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยพี่น้องวสุวัต ประเดิมถ่ายทำได้แก่ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จนิวัต พระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉาย สู่สาธารณะที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ได้รับความชื่นชม ต่อมา พี่น้องวสุวัต ซึ่งขณะนั้นเรียกชื่อ กิจการสร้างภาพยนตร์ของพวกตน เป็นทางการว่า 'บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง'

ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง ถือเป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งพิเศษกว่าทุกปีเพราะเป็นปีที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางเข้ามาในเมืองหลวงมากกว่าปรกติ ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง จึงประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง
ยุคนี้จัดว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของวงการหนังไทย เพราะบริษัทเสียงศรีกรุงสร้างหนังตามที่เห็นว่าเหมาะสม และยังได้พัฒนาการสร้างหนังอยู่ตลอดเวลา หนังของบริษัทนี้ได้รับการต้อนรับในทุกแห่ง ยังเป็นที่กำเนิดของดาราคู่แรกของ วงการภาพยนตร์ไทย คือ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎและยังเกิดบริษัทคู่แข่งอย่าง 'บริษัทไทยฟิล์ม'

ภาพยนตร์เงียบค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไปและถูกแทนที่โดยภาพยนตร์เสียง ภาพยนตร์นำเข้าหลายเรื่องไม่มีบรรยายไทยจึงจำเป็นต้องพากย์เสียงบรรยาย นักพากย์ที่มีชื่อเสียง คือ ทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง)

ต่อมา ทิดเขียวก็ได้ผันตัวเองไปเป็นนักพากย์หนังพูดด้วย โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทิดเขียวทดลองพากย์เป็นภาพยนตร์อินเดีย เรื่อง อาบูหะซันด้วยความคึกคักของกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศพากย์ไทย ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยบางรายซึ่งไม่มีทุนรอนมากนักเริ่มมองเห็นทางที่จะสร้างภาพยนตร์ให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องลงทุนมากมายวิธีดังกล่าวคือ ลงมือถ่ายทำโดยไม่บันทึกเสียงเช่นเดียวกับภาพยนตร์เงียบ หลังจากนั้น จึงเชิญนักพากย์ฝีมือดีมาบรรเลงเพลงพากย์ในภายหลัง ผู้ที่เริ่มบุกเบิกวิธีดังกล่าว คือ บริษัทสร้างภาพยนตร์ 2 ราย ได้แก่ บริษัทบูรพาภาพยนตร์ และบริษัทหัสดินทร์ภาพยนตร์ ซึ่งได้ทดลองสร้างหนังเรื่อง อำนาจความรัก และ สาวเครือฟ้า ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดียิ่ง จึงทำให้เกิดผู้สร้างรายเล็กรายใหญ่ตามมาหลายราย

ในช่วงปี พ.ศ. 2483 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป ได้ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนฟิล์มถ่ายภาพยนตร์ขนาด 35 มม. ผู้สร้างหนังในประเทศไทยจึงหันมาใช้ฟิล์มขนาด 16 มม. แทนฟิล์มขนาด 35 มม. กิจการหนังพากย์สามารถยืนหยัดจนผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ด้วยการหันมาใช้ฟิล์ม 16 มม. ซึ่งยังพอหาได้จากท้องตลาด ดังนั้น ตลอดเวลาที่เกิดสงครามจึงมีหนังพากย์ 16 มม. ออกฉายโดยตลอดแม้จะไม่ต่อเนื่องก็ตาม
ในช่วงสงคราม ผู้สร้างหนังหลายรายสามารถสร้างหนังออกมาได้เรื่อย ๆ การสร้างหนังไปหยุดชะงักลงอย่างถาวรก็ในช่วงปลาย ๆ สงคราม ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลานั้น กรุงเทพถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงทั้งกลางวันกลางคืน ทำให้ไฟฟ้าดับอยู่เสมอ โรงหนังหลายโรงจึงต้องปิดกิจการชั่วคราว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติภาพยนตร์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพยนตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย
ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 ต่อมาภาพยนตร์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2530-2539 โดยในตอนต้นทศวรรษวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากภาพยนตร์ประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ และหนังเกรดบี ก็มีการผลิตมามากขึ้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีภาพยนตร์ที่มุ่งสู่ตลาดโลก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์ ล่าสุด ภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ กำกับโดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ครั้งที่ 63 นับเป็นภาพยนตร์จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้

ส่วนการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ และการมอบรางวัลทางภาพยนตร์อยู่หลายโครงการ
ยุคเริ่มต้น
ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีนักแสดงไทยทั้งหมด

ชาวสยามได้รู้จักและชื่นชมซีเนมาโตกราฟ ประดิษฐกรรมภาพยนตร์ของตระกูลลูมิแอร์แห่งฝรั่งเศส โดยนักฉายภาพยนตร์เร่คนหนึ่ง นาม เอส. จี. มาร์คอฟสกี เข้ามาจัดฉายเก็บค่าดูจากสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ กรุงเทพ ชาวสยามเรียกมหรสพนี้ว่า หนังฝรั่ง เป็นมหรสพฉายแสงเล่นเงาบนจอผ้าขาว ทำนองเดียวกับ หนังใหญ่ หนังตะลุง มหรสพดั้งเดิมที่ชาวสยามรู้จักกันดีอยู่แล้ว ปี พ.ศ. 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี จึงกลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้น จนในที่สุดตั้งโรงฉายหนังฝรั่งเป็นโรงถาวรรายแรกของสยาม เปิดฉายหนังประจำ บริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุงชาวสยามจึงได้ดูหนังฝรั่งกันทุกคืน จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเรียกมหรสพชนิดนี้ว่า หนังญี่ปุ่น แทนคำว่าหนังฝรั่ง

พ.ศ. 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์ซัล ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยเรื่อง นางสาวสุวรรณ โดยได้รับความช่วยเหลือ จากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง โดยใช้นักแสดงไทยทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวงภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทยภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดอีกคณะ เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ช้าง" โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร

หนังดราม่า​แดนดิบ ​แดนสวรรค์

เอ็ม พิค​เจอร์ส ​เดินหน้า​ไม่หยุด ส่งภาพยนตร์ติดรางวัล​เข้าฉายต่อ​เนื่อง ล่าสุดกับภาพยนตร์รางวัลออส​การ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประ​เทศยอด​เยี่ยม "In A Better World ​แดนดิบ ​แดนสวรรค์" ภาพยนตร์​แนวดราม่าที่กิน​ใจคณะกรรม​การมา​แล้ว​แทบทุก​เวที
​โดย​ได้นัก​แสดงหนุ่มที่ถือว่าทรง​เสน่ห์​และ​เป็นที่นิยมชื่นชมยกย่อง มากที่สุดของสวี​เดน​ในขณะนี้ "มิกา​เอล ​เพอร์ส​แบรนท์" ​โดย​เมื่อปี 2009 ​เขา​ได้รับรางวัล Guldbaggen อันถือว่าทรง​เกียรติที่สุด​ในวง​การภาพยนตร์สวี​เดน จาก​การ​แสดง​ใน​เรื่อง "Everlasting Moments" (2008) ​และยัง​ได้นัก​แสดงนำหญิงที่ประวัติ​โชก​โชน​ในด้าน​การ​แสดงอย่าง "ทริ​เน ดุยร์​โฮล์ม" นัก​แสดงนำหญิงยอด​เยี่ยมจาก "Spring Tide" (1990) ​เท่านี้ยัง​ไม่พอ
ภาพยนตร์​เรื่องนี้ยัง​ได้​ผู้กำกับมือรางวัล ซู​แซนน์ ​เบียร์ ที่มา​ทำ​ให้ภาพยนตร์​เรื่องนี้สมบูรณ์​แบบมากขึ้น ​เธอ​เป็น​ผู้กำกับที่มีชื่อ​เสียงอย่างมากของสวี​เดน​ในขณะนี้ ​โดยผลงานที่​เคย​เข้าชิงออส​การ์ของ​เบียร์​ทั้งสอง​เรื่อง ​ได้​แก่ "After the Wedding" (2006) ​และงานสร้าง​ในอ​เมริกาอย่าง "Things We Lost in the Fire" (2007) นั้น ล้วน​แต่​เป็นที่นิยมถล่มทลายบ็อกซ์ออฟฟิศ​ในสวี​เดน นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่​เดินสายล่ารางวัลจากทั่ว​โลกมากมาย ​ซึ่ง​ทั้งหมด​เป็น​การ​การันตี​ถึงคุณภาพของ​เหล่านัก​แสดง​และทีมงานที่​ ทำ​ให้ภาพยนตร์​เรื่องนี้สามารถคว้ารางวัลออส​การ์​ไปครอบครอง​ได้อย่าง​ไร้ คู่​แข่ง " In A Better World ​แดนดิบ ​แดนสวรรค์" ภาพยนตร์ที่สุด​แห่งคุณภาพที่คุณ​ไม่ควรพลาด ​แล้วจะ​ทำ​ให้คุณยิ้มรับทุกปัญหา​ในชีวิต 24 มีนาคมนี้พร้อมกันทั่วประ​เทศ ดูข้อมูล​เพิ่ม​เติม​ได้ที่ http://www.facebook.com/Mpictures
​แอนตันมีอาชีพ​เป็นหมอ ​แต่ละวันต้อง​เดินทางจากบ้าน​ใน​เมืองสงบสุข​แห่งหนึ่ง​ใน​เดนมาร์ก​ไป​ทำ งานที่ค่าย​ผู้ลี้ภัยชาว​แอฟริกัน ​จึง​เปรียบ​เสมือน​ใช้ชีวิตอยู่​ใน​โลกสอง​ใบที่​แตกต่างกันมหาศาล ​ซึ่งนั่น​เองที่​ทำ​ให้​เขา​และครอบครัวต้อง​เผชิญกับปมปัญหาขัด​แย้ง สารพัด อันนำ​ไปสู่​การ​เลือกครั้งสำคัญระหว่างชำระ​แค้น​หรือ​ให้อภัย ​แอนตัน ​และ ​แมรี​แอนน์ ​ผู้​เป็นภรรยา มีลูกชายวัย​เยาว์ด้วยกันสองคน ทว่าปัจจุบันพวก​เขา​แยกกันอยู่​และพยายามหาช่องทาง​ใน​การหย่าขาด ​ในขณะ​เดียวกัน ​เอ​เลียส ลูกชายคน​โตวัยสิบขวบ​ก็ถูกกลั่น​แกล้งที่​โรง​เรียน​เป็นประจำจนกระทั่งมี คริส​เตียน มาคอยปกป้อง
คริส​เตียน​เป็นนัก​เรียน​ใหม่ ​เขากับ ​เคลาส์ ​ผู้​เป็นพ่อ ​เพิ่งย้ายมาจากลอนดอน ก่อนหน้านี้​ไม่นาน ​แม่ของ​เขาทนต่อกรกับมะ​เร็ง​ไม่​ไหว​และจาก​ไป ​ซึ่งคริส​เตียน​ทำ​ใจยากอย่างยิ่งกับ​ความตายครั้งนี้ ​ความสัมพันธ์ของ​เอ​เลียสกับคริส​เตียน​เหนียว​แน่นขึ้นอย่างรวด​เร็ว ​แต่​เมื่อคริส​เตียนชักนำ​เอ​เลียส​ไปสู่​การชำระ​แค้นที่​เต็ม​ไปด้วย อันตรายกับผลลัพธ์อัน​เศร้าสลด มิตรภาพ​จึงถูกทดสอบ
​ในขณะที่ชีวิตของพวก​เขา​ก็​แขวนอยู่บน​เส้นด้าย ท้ายที่สุด​จึง​เหลือ​เพียงพ่อ​แม่ของพวก​เขา​เท่านั้นที่จะช่วย​ให้ก้าว ผ่าน​ความซับซ้อนทางอารมณ์ของมนุษย์ ผ่าน​ความ​เจ็บปวด ​และรู้จัก​เอา​ใจ​เขามา​ใส่​ใจ​เรา

ภาพยนตร์ "Black Swan" ดราม่าผสมสยองขวัญ

ภาพยนตร์ "Black Swan" ดราม่าผสมสยองขวัญ

คมชัดลึก :นี่ คือภาพยนตร์ระทึกเชิงจิตวิทยาที่เรื่องราวเกิดขึ้นในโลกของบัลเลต์ในนคร นิวยอร์ก "Black Swan" (แบล็ก สวอน) เป็นการแสดงบทดราม่าที่ท้าทายสุดๆ ของ นาตาลี พอร์ตแมน นักบัลเลต์ในคณะละครที่ถูกกดดันให้รับบทนำซึ่งเป็นบทที่ต้องใช้การแสดงใน ด้านอารมณ์ยั่วยวนแบบสุดๆ เมื่อ นีน่า สนใจในตัวลิลลี่ จนกลายเป็นความสัมพันธ์ต้องห้ามที่น่าสะพรึงกล้ว ผลการกำกับของ เอโรนอฟสกี พร้อมนักแสดงมากฝีมือ อาทิ วินเซนต์ แคสเซล, วิโนน่า ไรเดอร์, มีล่า คูนิส ฯลฯ 
 เป็นเรื่องราวของ นีน่า (นาตาลี พอร์ตแมน) นักบัลเลต์หญิงที่อยู่ในคณะบัลเลต์ที่นิวยอร์ก เธอมีชีวิตตามที่ปฏิญาณตัวเอาไว้ว่าจะใช้ชีวิตกับการเต้นรำอย่างเต็มที่ เธออยู่กับเอริก้า แม่ของเธอซึ่งเป็นอดีตนักบัลเลต์ (บาร์บาร่า เฮอร์ชีย์) ผู้กระตือรือร้นสนับสนุนเป้าหมายด้านอาชีพของลูกสาว เมื่อผู้กำกับบัลเลต์อย่าง โธมา ลีรอย (วินเซนต์ แคสเซล) ตัดสินใจเปลี่ยนนักบัลเลต์ตัวชูโรงอย่าง เบ็ธ แม็คอินไทร์ (วิโนน่า ไรเดอร์) สำหรับการเปิดการแสดงของฤดูกาลใหม่ของพวกเขาที่มีชื่อว่า “Swan Lake” นีน่าเป็นตัวเลือกอันดับแรก แต่นีน่ามีคู่แข่งซึ่งเป็นนักเต้นคนใหม่อย่าง ลิลลี่ (มีล่า คูนิส) ผู้มีความประทับใจในตัวลีรอย Swan Lake ต้องการนักเต้นที่สามารถแสดงทั้ง White Swan ที่มีความไร้เดียงสาและความงาม และ Black Swan ซึ่งเป็นตัวแทนของการหลอกลวงและความหลงใหล นีน่าเหมาะกับบท White Swan อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ลิลลี่ต้องทำตัวให้เหมือน Black Swan เมื่อ สองนักเต้นทวีการแข่งขันเข้าไปในความสัมพันธ์ที่เป็นสัมพันธภาพที่ผิดเพี้ยน นีน่าเริ่มเข้าไปสัมผัสด้านมืดของตัวเธอมากขึ้น พร้อมด้วยความใจร้อนที่เป็นลางร้ายแห่งการทำลายเธอ

ประวัติภาพยนตร์โลก

ประวัติภาพยนตร์โลก

          ภาพยนตร์์ หรือ “หนัง” เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 เมื่อพี่น้องลูมิแอร์นำประดิษฐกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า ซิเนมาโตกราฟ (cinematography) ออกฉายแก่สาธารณชนและเก็บค่าเช้าชมเป็นครั้งแรก ณ ใต้ถุนร้านกาแฟในกรุงปารีส
          แต่ที่จริงแล้ว ความฝันว่าด้วยการสร้างภาพยนตร์ ได้มีมาก่อนหน้านั้น ดังที่ปรากฏในรูปของเล่นต่างๆ ซึ่งใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา (persistence of vision) เช่น thaumatrope แผ่นกระดาษวงกลมที่ผูกเชือกสองด้าน ภาพยนตร์บนแผ่นกระดาษด้านหนึ่งเป็นรูปกรง อีกด้านเป็นรูปนก เมื่อหมุนเชือกให้ภาพพลิกไปมาเร็วๆ จะเห็นเป็นภาพนกอยู่ในกรงได้ หรือ zootrope ชุดภาพที่ใส่อยู่ในกล่องทรงกลมซึ่งติดอยู่บนแกนหมุน เมื่องมองเข้าไปตามช่องแล้วหมุน จะเห็นเป็นรูปเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น

          หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อ เนื่องของสายตามนุษย์ หรือการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นมาโดยนักทฤษฎีชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2367 เนื้อหาของทฤษฎีดังกล่าว อธิบายหลักธรรมชาติของสายตามนุษย์ในการมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง แล้วหากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฎในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพที่เห็นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว
          ช่วงที่ยังไม่เกิดภาพยนตร์มากนัก มีนักประดิษฐ์หลายคนพยายามที่จะบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องภาพนิ่ง หนึ่งในผู้บุกเบิกก็คือ เอ็ด เวิร์ด ไมย์บริด (eadweard muybridge) ซึ่งรับท้าพนันเจ้าของคอกม้าแห่งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่า ในเวลาม้าวิ่ง จะมีชั่วขณะหนึ่งขาของม้าลอยขึ้นมาพื้นทั้ง 4 ขา เขาได้ทดลองโดยการถ่ายภาพม้าวิ่งด้วยกล้อง 12 ตัว นำสไลด์มาติดบนวงล้อ แล้วฉายด้วยเมจิกแลนเทิร์น (megic latern) ซึ่งเป็นเครื่องฉายสไลด์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในเวลานั้น นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าสมมุติฐานนั้นเป็นจริง ยังเห็นภาพม้าเคลื่อนไหวได้เหมือนจริงอีกด้วย
          กลุ่มนักประดิษฐ์ของโทมัส อัลวา เอดิสัน (thomas alva edison) ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทในยุคบุกเบิกของภาพยนตร์ แต่บุคคลที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการประดิษฐ์ คือ วิลเลียม ดิกสัน (william kenedy laurie dickson) ผู้ช่วยคนหนึ่งของเขา ดิกสันได้พัฒนากล้องที่เรียกว่า คิเนโตโฟโนกราฟ (kinetophonograph) โดยใช้ฟิล์มเซลลูลอยด์ ของ จอร์จ อีสต์แมน (george eastman) ซึ่งออกใหม่ในขณะนั้น หนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำ คือ fred ott’s sneeze จากนั้นนำมาฉายดูในเครื่องฉายที่เรียกว่า คิเนโตส่โคป (kinetoscope) ซึ่งเป็นเครื่องถ้ำมองที่ดูได้ทีละคน ทั้งนี้เป็นไปตามความคิดของเอดิสันที่เชื่อว่า การดูได้ทีละคนจะสร้างความอยากรู้อยากเห็นให้คนยอมจ่ายค่าดู แต่เอดิสันคิดผิด เพราะสิ่งที่ทำให้หนังของพี่น้องลูมิแอร์ได้รับการยกย่องให้เป็นหลักหมายที่ หนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลกนั้น ก็คือ การที่เขาพัฒนาให้ฉายขึ้นจอใหญ่และดูได้ทีละมากๆ จนทำให้ภาพยนตร์เป็นมหรสพสาธารณะที่สร้างวัฒนธรรมร่วมของคนทั่วโลกในช่วง กว่าศตวรรษที่ผ่านมา

รายการบล็อกของฉัน

ค้นหาบล็อกนี้